Skip content
Ascend

การวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบของกระบวนการผลิตตามแนวทาง AIAG-VDA.

(Potential Process Failure Mode and Effect Analysis)

วัตถุประสงค์และขอบเขตของการใช้เครื่องมือ FMEA

+66 2459 0252

ขอใบเสนอราคา

วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความเข้าใจในเทคนิคหลักของกิจกรรม APQP Phase 3: Process Design and Development และ สามารถนำใช้เทคนิคนี้พร้อมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น PFMEA, Control Plan อย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางของคู่มือ AIAG-VDA FMEA

โครงสร้างของหลักสูตร

FMEA คืออะไร ?

  • วัตถุประสงค์และขอบเขตของการใช้เครื่องมือ FMEA
  • Design FMEA
  1. ข้อมูลดิบที่จำเป็นใน PFMEA

  2. รูปแบบมาตรฐาน, รายการวิเคราะห์และความล้มเหลวที่เป็นไปได้, ผลกระทบของความล้มเหลว, ดัชนีความรุนแรงและการจัดกลุ่มความสำคัญ, สาเหตุของความล้มเหลว, ดัชนีโอกาสในการเกิดของสาเหตุ, มาตรการการควบคุมการออกแบบปัจจุบัน, ดัชนีการตรวจจับ, ดัชนี AP , มาตรการที่แนะนำและการแก้ไข, การเชื่อมโยงผลจาก PFMEA กับเอกสารอื่นๆ เช่น Control Plan, Inspection Standard, Operator Instruction

คุณต้องการหลักสูตรนี้ ถ้า …

สมาชิกทีมงาน APQP, วิศวกรออกแบบ วิศวกรผลิต วิศวกรประกันคุณภาพ เจ้าหน้าที่ PPAP ผู้จัดการโครงการรุ่นงานใหม่ ผู้ประสานงานกับผู้รับจ้างช่วง เจ้าหน้าที่ควบคุมเอกสาร และบุคลากรอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนารุ่นงานใหม่

คุณจะได้เรียนรู้ …

  • หลักสูตร 2 วันที่อธิบายการนำใช้เครื่องมือ PFMEA และเทคนิคต่างๆในการบ่งชี้ความล้มเหลวที่เป็นไปได้อันเกิดจากการออกแบบ
  • เนื้อหาหลักสูตรเน้นถึงการเชื่อมโยงและผลกระทบของการออกแบบในลำดับต่างๆตั้งแต่การออกแบบ ส่วนประกอบ ระบบย่อย และระบบหลัก
  • นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมและการแจกแจงการวิเคราะห์แบบแผนผังต้นไม้ (Tree Diagram)
  • โดยรวมแล้วเป็นหลักสูตรที่สร้างความเข้าใจในหลักการและการนำไปปฏิบัติจริงโดยทีมงาน APQP ในการทำงาน APQP Phase 3: Process design and Development

เนื้อหาหลักสูตร

วันที่ 1

  • วัตถุประสงค์และขอบเขตของการใช้เครื่องมือ FMEA

  • เหตุผลในการแก้ไขจาก version เดิม, การเปลี่ยนแปลงหลัก

  • Seven Steps Process

    • ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนและเตรียมการ

    • ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์โครงสร้าง

    • ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์หน้าที่การทำงาน

    • ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ความล้มเหลว

  • Workshop

วันที่ 2

  • ขั้นตอนที่ 5 การวิเคราะห์ความเสี่ยง
    • Severity Rating, Occurrence Rating, Detection Rating, AP Table - Determining Action Priorities
  • ขั้นตอนที่ 6 การเพิ่มประสิทธิภาพ

  • ขั้นตอนที่ 7 การบันทึกผล

  • แบบฝึกหัดในชั้นเรียนโดยอิงจากเอกสาร PFMEA ที่เคยพัฒนามา
    • การเชื่อมโยงผลจาก PFMEA กับเอกสารอื่นๆ เช่น Control Plan, Inspection Standard, Operator Instruction

ความยาวของหลักสูตร

1 วัน

การฝึกอบรมจาก LRQA

ด้วย LRQA คุณสามารถเข้าถึงหลักสูตรต่างๆ มากมายเพื่อช่วยให้คุณก้าวหน้าในอาชีพการงานและนำการปรับปรุงมาสู่ระบบการจัดการในองค์กรของคุณ ด้วยรูปแบบการเรียนรู้มากมายให้เลือก หลักสูตรการฝึกอบรมของเราสามารถช่วยให้คุณพัฒนาและก้าวไปสู่ระดับถัดไปได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรการฝึกอบรมจาก LRQA

ที่บริษัท

หากคุณกำลังมองหาหลักสูตรสำหรับสี่คนขึ้นไปคุณอาจพบว่าตัวเลือกภายในของเราคุ้มค่ากว่า. ติดต่อทีมงานเพื่อขอใบเสนอราคา.

กำหนดเอง

ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมของเราเพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมหรือโปรแกรมเฉพาะตามความต้องการของคุณ